top of page
Writer's pictureTwenty Four Audit And Accounting

ชำระอากรแสตมป์สำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์

Updated: Feb 20, 2021

5 ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินเท่านั้น ประกอบด้วยอะไรบ้างและมีขั้นตอนการจ่ายชำระอย่างไร


ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ คือ ตราสารแห่งบัญชีอากรแสตมป์ ที่จัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่ได้ทำสัญญาในรูปแบบกระดาษนั่นเอง)


5 ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องชำระอากรเป็นตัวเงิน ประกอบด้วย

1. จ้างทำของ

2. กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร

3. ใบมอบอำนาจ

4. ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท

5. ค้ำประกัน


ขั้นตอนการขอเสียอากร

1. เข้าสู่ระบบ โดยทำได้ 2 ช่องทาง

  • เว็บไซต์กรมสรรพากร โดยใช้ชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน ที่ได้รับจากการลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://estamp.rd.go.th/stampweb/#/index

  • Application Programming Interface ของกรมสรรพากร ผู้มีหน้าที่เสียอากรหรือผู้ให้บริการ ต้องขอใช้บริการ โดยยื่นแบบขอจัดทำและยื่นรายการข้อมูลการเสียภาษีอากรผ่าน API (ภ.อ.01.2)

2. กรอกหรือนำส่งข้อมูล

  • กรณีเว็บไซต์กรมสรรพากร ให้กรอกรายละเอียดตราสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์ หรือ

  • กรณี API ให้นำส่งทาง API โดยตราสารอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีหมายเลขอ้างอิงและหมายเลขอ้างอิง แต่ละฉบับต้องไม่ซ้ำกัน

3. ชำระเงินค่าอากร

  • การจ่ายชำระเงินสามารถใช้บริการของ Thai QR, QR Cross Bank และเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทยเท่านั้น

4. ขอเอกสารหลักฐานการเสียเงินค่าอากร

  • กรณีเว็บไซต์กรมสรรพากร Download รหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์ และใบเสร็จรับเงินจากเว็บไซต์ โดยผ่านระบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ

  • กรณี API ขอรับรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์ และใบเสร็จรับเงินผ่าน API หลังการเสียเงินค่าอากรแล้ว

5. ตรวจสอบการเสียอากรแสตมป์ โดยใช้รหัสอ้างอิงตราสารอิเล็กทรอนิกส์


กำหนดเวลายื่นขอเสียอากร

  • ต้องยื่นขอเสียอากรและชำระอากรก่อนทำตราสาร หรือภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวันทำตราสาร ไม่เว้นวันหยุดราชการ

กรณีทำสัญญาอื่นๆ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ชำระอากรเป็นตัวเงิน ด้วยแบบ อ.ส.4 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

อ้างอิง: ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 58)

Comments


bottom of page