top of page
Writer's pictureTwenty Four Audit And Accounting

ภาษีการรับมรดก

Updated: Feb 21, 2021

ภาษีการรับมรดก เป็นการเสียภาษีจากมูลค่ามรดกที่ทายาทแต่ละรายได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว รวมกันมีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท


ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก

  • อสังหาริมทรัพย์

  • หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

  • เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันซึ่งอยู่ในประเทศไทย ที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้

  • ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน

  • ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา

อัตราภาษีการรับมรดก

ภาษีการรับมรดก
ภาษีการรับมรดก

มูลค่าฐานภาษี เฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท โดยคำนวณจากมูลค่าสุทธิของมูลค่ามรดกทั้งสิ้นที่ได้รับ หักภาระหนี้สินที่ตกทอดจากการรับมรดก และเสียตามอัตราคงที่ ดังนี้

  • สามีภริยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้อง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

  • บุพการีหรือผู้สืบสันดาน เสียภาษีในอัตรา 5% ของมูลค่ามรดกสุทธิที่ต้องเสียภาษี

  • บุคคลทั่วไป เสียภาษีในอัตรา 10% ของมูลค่ามรดกสุทธิที่ต้องเสียภาษี

การยื่นแบบและชำระภาษีการรับมรดก

  • ผู้รับมรดก ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก (ภ.ม.60) และ

  • ชำระภาษีภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับมรดกเกิน 100 ล้านบาท

Commentaires


bottom of page