หลายๆ บริษัทมี "บัญชีเงินให้กู้ยืมกรรมการ" ซึ่งตามมาตรา 65 ทวิ (4) ระบุว่า กรณีให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีค่าตอบแทน หรือดอกเบี้ย หรือมีค่าตอบแทน หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานมีอำนาจประเมินค่าตอบแทน หรือดอกเบี้ยนั้นตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงินได้ ดังนั้น หากกิจการมีการให้กู้ยืมเงิน กิจการจะต้องคำนวณดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสม
อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมกรรมการ
ให้พิจารณาจากแหล่งเงินที่นำมาให้กู้ โดยแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้
กรณีที่ 1: บริษัทนำเงินสดที่มีอยู่ให้กรรมการกู้ยืม
อัตราดอกเบี้ย: ให้ใช้ "อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์" ในขณะนั้น
กรณีที่ 2: บริษัทกู้ยืมเงินจากแหล่งอื่นมาให้กรรมการกู้ยืม
อัตราดอกเบี้ย: ให้ใช้ "อัตราดอกเบี้ยที่กู้ยืม" มา
ข้อควรระวังในเรื่องเงินให้กู้ยืมกรรมการ
กรณีไม่คิดอัตราดอกเบี้ย เจ้าพนักงานอาจประเมินดอกเบี้ยเพื่อเสียภาษีเพิ่มเติม
ใช้อัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับแหล่งเงินที่กิจการนำมาให้กู้
ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะเป็นการประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารพาณิชย์
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามภงด.50 จะต้องนำเงินรายได้จากดอกเบี้ยมารวมคำนวณด้วย
อ้างอิง: ข้อมูลจากกรมสรรพากร
Comments