ผู้มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีหลายคนยังสงสัยว่า เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้วแต่เงินได้ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องชำระภาษี จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี เมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด
เกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี มีดังนี้
กรณีโสด
บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง เพียงอย่างเดียว มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท
บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ประเภทอื่น มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
กรณีสมรส
บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง เพียงอย่างเดียว มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 220,000 บาท
บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ประเภทอื่น มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท
ดังนั้นผู้มีเงินได้เกิดขึ้นในระหว่างปี อย่าลืมตรวจเช็คกันว่า รายได้พึงประเมินที่ได้รับเป็นรายได้ประเภทใด และจำนวนเงินที่ได้รับถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดแล้วหรือไม่ เพื่อที่จะยื่นแบบและนำส่งภาษีได้อย่างถูกต้องและภายในเวลาที่กำหนด
อ้างอิง: ข้อมูลจากกรมสรรพากร
Comments