เงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดาแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ซึ่งเงินได้แต่ละประเภทมีต้นทุนในการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นอัตราการหักค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทจึงถูกกำหนดไว้ต่างกัน
เงินได้บุคคลธรรมดา 8 ประเภท มีดังนี้
40(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น
เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
40(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น
ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
40(3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
40(4) ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น
40(5) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก
การให้เช่าทรัพย์สิน
การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
40(7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
40(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว
อัตราการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้แต่ละประเภท มีดังนี้
อ้างอิง: ข้อมูลจากกรมสรรพากร
コメント