หากนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานโดยที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดใดๆ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยอะไรบ้างให้แก่ลูกจ้าง
เงินชดเชยที่นายจ้างต้องจ่าย แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. ค่าชดเชยการเลิกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานโดยไม่มีความผิดและไม่สมัครใจจะออก นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยโดยจำนวนเงินขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างและอัตราค่าจ้างสุดท้าย ดังนี้
2. ค่าชดเชยพิเศษ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษสำหรับกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน เนื่องจากสาเหตุ ดังนี้
1) กรณีที่ปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต หรือการบริการ เนื่องจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งทำให้ต้องลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องดำเนินการดังนี้
นายจ้างต้องแจ้งวันที่เลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้าง และรายชื่อผู้ที่ถูกเลิกจ้างให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง
หากไม่แจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่า 60 วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงาน 60 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
2) กรณีที่ย้ายสถานประกอบกิจการไปสถานที่อื่น ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องดำเนินการดังนี้
นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนย้าย และลูกจ้างมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างได้ กรณีที่ลูกจ้างไม่ย้ายไปทำงานด้วย โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่า 50% ของอัตราค่าชดเชยปกติที่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับ
กรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถานประกอบกิจการล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย มีดังนี้ 1. ลูกจ้างลาออกเองโดยสมัครใจ 2. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 3. ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 4. ประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 5. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง โดยนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนมีผลบังคับไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด 6. ละทิ้งต่อหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร 7. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา 8. กรณีนายจ้างเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาจ้างที่ระบุไว้แน่นอน
ที่มา: https://lb.mol.go.th/
Comments