การจ่ายภาษีในรูปแบบอากรแสตมป์จะต้องเสียในอัตราเท่าใด และกรณีใดบ้างที่จะต้องเสียภาษีโดยการติดอากรแสตมป์
อากรแสตมป์ คือ
ภาษีอากรประเภทหนึ่งที่จัดเก็บจากการทำตราสารต่างๆ ในปัจจุบันมี 28 ลักษณะตราสารที่ต้องติดอากรแสตมป์ เช่น ตราสารเช่าที่กับโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ กู้ยืมเงิน ฯลฯ
อัตราอากรแสตมป์
1. ติดอากรแสตมป์ 1 บาท ทุกมูลค่าสัญญา 1,000 บาท สำหรับลักษณะตราสารดังนี้
สัญญาเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ ยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับเช่าทรัพย์สินใช้ในการทำนา ไร่ สวน
สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน ยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับเช่าทรัพย์สินใช้ในการทำนา ไร่ สวน
สัญญาจ้างทำของ ยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับสัญญาที่ทำขึ้นนอกประเทศไทยและการปฏิบัติตามข้อสัญญานั้นมิได้ทำในประเทศไทย
ผู้มีหน้าที่เสียอากร เช่น ผู้ให้เช่า, ผู้รับจ้าง เป็นต้น
2. ติดอากรแสตมป์ 1 บาท ทุกมูลค่าสัญญา 2,000 บาท กรณีคำนวณแล้วถ้าเกิน 10,000 บาท ให้เสีย 10,000 บาท สำหรับลักษณะตราสารดังนี้
สัญญากู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับการกู้ยืมเงินซึ่งสมาชิกกู้ยืมจากสหกรณ์หรือสหกรณ์กู้ยืมจากสหกรณ์ หรือจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ผู้มีหน้าที่เสียอากร เช่น ผู้ให้กู้ เป็นต้น
กรณีฟ้องร้อง
หากสัญญาไม่ได้ติดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องก็จะไม่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ จนกว่าจะเสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบตามจำนวนที่กำหนด

Comments