เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเนื่องจากออกจากงาน เมื่อนำมาคำนวณรวมกับเงินได้ตามมาตรา 48(1) และ (2) จะทำให้ฐานเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงไปด้วย ทั้งนี้เงินได้เพราะเหตุออกจากงานสามารถเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นได้ เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
เงินได้จากการออกจากงาน เช่น
เงินชดเชยตามกฎหมาย
เงินได้ออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บำเหน็จข้าราชการ
เงินได้ออกจากงานกรณีอื่นๆ
เงื่อนไขที่ผู้มีเงินได้เลือกคำนวณแยกจากเงินได้อื่นได้ตามมาตรา 48(5) มีดังนี้
ต้องมีระยะเวลาการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปีเต็ม
เฉพาะเงินได้ที่มีการจ่ายในปีภาษีแรกเท่านั้น
เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่นำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีตามมาตรา 48(1) และ (2) ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
วิธีการคำนวณภาษีตามมาตรา 48(5)
เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน xxx บาท
หัก ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน)* xxx บาท
ค่าใช้จ่ายส่วนที่สอง (ฐาน - ค่าใช้จ่ายส่วนแรก) xxx บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย** xxx บาท
หมายเหตุ
*หากมีการจ่ายบำเหน็จส่วนหนึ่งและบำนาญอีกส่วนหนึ่งให้ใช้ (3,500 x จำนวนปีที่ทำงาน) แทน
**นำเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายมาคำนวณเพื่อเสียภาษี
ทั้งนี้จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้สุทธิที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรก
Comments