top of page
Writer's pictureTwenty Four Audit And Accounting

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกแทนคำนวณอย่างไร

Updated: Feb 21, 2021

กรณีที่ผู้ให้บริการไม่ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้ประกอบการที่จ่ายเงินได้จะสามารถคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกแทนให้ได้ 2 วิธี คือ วิธีออกให้ครั้งเดียว หรือวิธีออกให้ตลอดไป


การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกแทน

1. วิธีออกให้ครั้งเดียว

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกแทน = (เงินได้ที่จ่าย + ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตราปกติ) x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เงินที่จ่ายให้แก่ผู้ให้บริการ = (เงินได้ที่จ่าย + ภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตราปกติ) - ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกแทน

ตัวอย่าง:

ค่าบริการ 10,000 บาท อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3%

คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ครั้งเดียว:

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราปกติ = 10,000 x 3% = 300 บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ครั้งเดียว = (10,000 + 300) x 3% = 309 บาท

จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ให้บริการ = 10,300 - 309 = 9,991 บาท

ดังนั้น ให้ผู้ประกอบการระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ ดังนี้

  • เงินได้ = 10,000 + 300 = 10,300 บาท

  • ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่นำส่ง = 309 บาท

ทั้งนี้การหักภาษี ณ ที่จ่ายวิธีออกให้ครั้งเดียวผู้รับจะไม่ได้รับเต็มจำนวนโดยจะถูกหัก 9 บาท


2. วิธีออกให้ตลอดไป

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกแทน = เงินได้ที่จ่าย x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย/(100 - อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

ตัวอย่าง:

ค่าบริการ 10,000 บาท อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3%

คำนวณภาษีออกให้ตลอดไป:

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ตลอดไป = 10,000 x 3/(100 - 3) = 309.28 บาท

จำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ให้บริการ = 10,000 บาท

ดังนั้น ให้ผู้ประกอบการระบุในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ ดังนี้

  • เงินได้ = 10,000 + 309.28 = 10,309.28 บาท

  • ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่นำส่ง = 10,309.28 x 3% = 309.28 บาท

ทั้งนี้การหักภาษี ณ ที่จ่ายวิธีออกให้ตลอดไปผู้รับจะได้เงินได้เต็มจำนวนเท่ากับค่าบริการ

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกแทนคำนวณอย่างไร

Comments


bottom of page