หลักการพิจารณาการหักให้ดูว่า จ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทใดและจ่ายให้แก่ใคร เนื่องจากเป็นปัจจัยในการกำหนดอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย
ปัจจัยในการกำหนดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ประเภทเงินได้พึงประเมิน
กรณีนี้การจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า แบ่งออกเป็นเงินได้พึงประเมิน 2 ประเภท คือ
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง ฯลฯ และ
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม ฯลฯ
ผู้รับเงินได้พึงประเมิน
จ่ายเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
บุคคลธรรมดาอยู่ในประเทศไทย
บุคคลธรรมดาอยู่ต่างประเทศ หรืออยู่ในไทยไม่ถึง 180 วัน
สรุปอัตราการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
การคำนวณภาษีอัตราก้าวหน้า
นำเงินได้พึงประเมินที่คาดว่าจะจ่ายทั้งปีหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อให้ได้ภาษีที่ต้องจ่ายชำระทั้งปี และหารด้วยจำนวณครั้งที่จ่ายจะได้จำนวนภาษีที่ต้องหักแต่ละครั้ง
กำหนดระยะเวลาการยื่นแบบ
ผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.1 และนำส่งภาษีภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้
อ้างอิง: ข้อมูลจากกรมสรรพากร
Comments