จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด?
- Twenty Four Audit And Accounting
- May 25, 2020
- 1 min read
Updated: Feb 21, 2021
หลายคนอาจมีคำถามเกี่ยวกับการจดทะเบียนว่าจะจดทะเบียนกิจการในรูปแบบไหน
เรามาดูแต่ละประเด็นกันเพื่อประกอบการพิจารณาเบื้องต้น
1. จำนวนผู้เริ่มก่อตั้งกิจการ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด: จำนวนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำการค้าร่วมกัน
บริษัทจำกัด: จำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปตกลงทำการค้าร่วมกัน
2. ความรับผิดชอบต่อหนี้สิน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด: มีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดและไม่จำกัดความรับผิด
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด คือ รับผิดไม่เกินจำนวนที่ตนลงหุ้น
หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด คือ รับผิดร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด
บริษัทจำกัด: ผู้ถือหุ้นรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถืออยู่
3. เงินลงทุน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด: หุ้นส่วนสามารถลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงาน ยกเว้นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดไม่สามารถลงด้วยแรงงานได้
บริษัทจำกัด: ต้องแบ่งทุนออกเป็นมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน และสามารถชำระค่าหุ้น 25% ของทุนจดทะเบียน
4. งบการเงิน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด: ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
บริษัทจำกัด: ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) เท่านั้น
5. การนำส่งงบการเงิน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด: นำส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี
บริษัทจำกัด: นำส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
ประเด็นข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เห็นความแตกต่างของห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรวิเคราะห์ในแง่อื่นเพิ่มเติมด้วย เช่น ความเสี่ยงกิจการ การวางแผนการเติบโตในอนาคต ความสามารถในการจัดหาแหล่งเงินทุน เป็นต้น

ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
Comentários